ตอนที่29 ในหนึ่งปีไม่ได้มีแค่ 4 ฤดู การแบ่ง 24 ช่วงของฤดูกาลของญี่ปุ่น คืออะไร ?

    หากพูดถึงเรื่องฤดูกาลและสภาพอากาศแล้ว ญี่ปุ่นเองถือเป็นประเทศที่มีความหลากหลายในเรื่องนี้มากๆ ไม่ว่าจะเป็นฮอกไกโดที่หนาวสุด หรือ โอกินาวะ ที่อากาศมีความคล้ายบ้านเรามาก นอกจากนั้นใน 1 ปี ก็ยังมี 4 ฤดูหลักครบ และแต่ละฤดูเองก็ยังมีจุดเด่นของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปให้เห็นอย่างชัดเจนอีกด้วย เลยปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งเหล่านี้กลายเป็นจุดขายหลักของการท่องเที่ยวญี่ปุ่นไปเลย

แต่เคยรู้กันไหมว่า คนญี่ปุ่นมีวิธีการแบ่งฤดูกาลพวกนี้กันยังไง ใช้อะไรกำหนดว่าถึงเวลาเปลี่ยนผ่านแล้ว

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับวันเปลี่ยนฤดูกันของญี่ปุ่นกัน

                                                                                 Credit ภาพ: https://allabout.co.jp/gm/gc/389397/

การแบ่งช่วงของแต่ละฤดูเป็น 24 ภาวะ

    หลายๆคนอาจจะทราบกันแล้ว ว่าญี่ปุ่นได้รับวิธีการแบ่งฤดูแบบนี้มากจากจีนอีกเช่นเคย ซึ่งจะยึดตามหลักปฏิทินของจีน ซึ่งได้กำหนดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมตามองศาของดวงอาทิตย์ไว้ และเรียกว่า “24 ภาวะ”นั่นเอง

โดยจะแบ่งเป็น ช่วงเริ่มฤดู กลางฤดู และภาวะย่อยๆที่ขั้นกลางระหว่างภาวะหลัก เช่นฝนส่งท้ายหนาว ช่วงหิมะตกหนัก หรือช่วงแมลงเริ่มตื่นจากการจำศีล เป็นต้น เรียกได้ว่าเป็นการบอกความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่ค่อนข้างละเอียดมาก และ ส่วนใหญ่ก็ยังใช้ได้มาถึงทุกวันนี้เลย นอกจากนั้นการแบ่งภาวะย่อยๆของฤดูกาลแบบนี้ก็ยังถูกสะท้อนออกมาในวัฒนธรรมอื่นๆของญี่ปุ่นด้วย เช่น ห้องของพิธีชงชา จะถูกเปลี่ยนรูปแบบภายในห้องให้เหมาะกับภาวะต่างๆตลอดทั้งปี หรือการกำหนดเทศกาลสำคัญต่างๆส่วนใหญ่ก็ยึดตามเวลาที่เหมาะสมกับแต่ละภาวะ หรือ การกำหนดวันเริ่มเพาะปลูก-เก็บเกี่ยว เป็นต้น

(การแบ่งแบบนี้มีให้เห็นทั้ง ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม เนื่องจากเป็นประเทศที่ได้รับอธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนมาค่อนข้างเยอะ)

ภาวะหลักๆที่ยังเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน

    ถึงจะบอกว่าทั้ง 24 ภาวะนี้ก็มีความแม่นยำอยู่แต่ถ้าให้จำทั้งหมดนี้คงปวดหัวแย่ ในตอนนี้ภาวะย่อยๆจึงไม่ค่อยมีใครพูดถึงกันแล้วในสังคมญี่ปุ่น โดยหลักๆที่ยังจะเห็นบ่อยนั้นก็จะมีแค่ช่วงเริ่มฤดูกับกลางฤดูเท่านั้น โดยเฉพาะภาวะกลางฤดูใบไม้ผลิ และ กลางฤดูใบไม้ร่วงก็จะคุ้นเคยกันเป็นพิเศษเพราะทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดให้เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ด้วยซึ่งก็คือวันกลางฤดูใบไม้ผลิ(วันชูบุน、春分の日) 20 หรือ 21 มีนาคม ( รวมอยู่ในช่วงวันหยุดยาว Golden week)และ วันกลางฤดูใบไม้ร่วง (วันชุนบุน、秋分の日) ในวันที่ 22 หรือ 23 กันยายน




แล้วทำไมถึงมีแค่สองวันนี้ที่ได้เป็นวันหยุด?

    เรื่องนี้ต้องย้อนไปถึงสมัยก่อน เพราะในเดียวกันนี้ทางฝั่งราชวงศ์ของญี่ปุ่นนั้นใช้เป็นวันที่รำลึกถึงบรรพบุรุษนั่นเอง

โดยจะมีชื่อเรียกว่า ชุนกิโคเรไซ(春季皇霊祭) และ และชูกิโคเรไซ (秋季皇霊祭) ซึ่งคาดว่าได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมจีนเหมือนเดิม

อีกหนึ่งสาเหตุหลักๆก็เพราะช่วงกลางฤดูใบไม้ผลินี้มักจะถูกใช้เป็นช่วงหว่านเมล็ด หรือ เริ่มปลูกพืชทางการเกษตรต่างๆ และช่วงกลางฤดูใบใบไม้ร่วงก็เป็นเวลาที่ใช้เก็บเกี่ยวผลผลิตตามชุมชนหรือต่างจังหวัดจึงมักจะมีพิธีกรรม หรือธรรมเนียมท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ จากสองเรื่องหลักๆนี้รัฐบาลจึงจัดให้สองวันนี้เป็นวันหยุดขึ้นมานั่นเอง


ฤดูกาล วิถีชีวิต สู่ตัวตน

    สุดท้ายนี้เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งประเทศที่วิถีชีวิตของผู้คนนั้นยังเชื่อมโยงกับสภาพแวดอยู่ค่อนข้างมาก และนั่นก็นำไปสู่วัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์มาถึงทุกวันนี้

นอกจากนี้การรับรู้ถึงสิ่งรอบตัวนี้เองก็อาจจะส่งผลมาถึงทักษะในการรักษาตัวตนของประเทศตัวเอง ที่มักรู้ตัวเสมอว่าช่วงไหนที่ควรจะต้านกระแสโลก หรือช่วงไหนควรจะปล่อยตัวตามสิ่งที่ไหลเข้ามาอีกด้วย

การมองฤดูกาลแบบนี้ถึงจะดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาๆ แต่ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่ามันเป็นรากที่สำคัญของหลายประเทศเลย